Workshop : สัมประสิทธิ์แอลฟา : การใช้อย่างเหมาะสม

*** ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ฟรี!!! ***

จำนวน 40 ที่นั่ง เท่านั้น

ผู้เข้าร่วมการอบรมกรุณานำคอมพิวเตอร์โน้ตบุ้คสำหรับฝึกปฏิบัติการมาด้วยตนเอง

(ติดตั้งโปรแกรม R มาล่วงหน้าด้วยนะคะ จะได้มีเวลาฝึกปฏิบัติการมากขึ้น)

 

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สัมประสิทธิ์แอลฟา : การใช้อย่างเหมาะสม” ในวันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2563 เวลา 9.00 – 13.00 น. ณ ห้อง 613 ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สักกพัฒน์ งามเอก เป็นวิทยากร

หลักการและเหตุผล

การสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสําคัญอย่างยิ่งในการทำวิจัย เนื่องจากข้อมูลที่ได้ย่อมมีผลต่อคุณภาพของงานวิจัย การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของงานวิจัยจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้วิจัยได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด โดยการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือวัดจะเป็นการบ่งชี้ว่าเครื่องมือที่สร้างขึ้นนั้นใช้วัดในสิ่งที่ต้องการได้หรือไม่

เนื่องจากการวัดทางจิตวิทยาส่วนใหญ่ต้องคำนวณและรายงานความเที่ยงจากความสอดคล้องภายใน ซึ่งวิธีการหาค่าความเที่ยงเพื่อวัดความสอดคล้องภายในที่นิยมมากที่สุดคือ การใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา แต่ยังคงมีความเข้าใจผิดกันอยู่มากเกี่ยวกับการแปลความหมายสัมประสิทธิ์แอลฟาในการรายงานความเที่ยงของการวัด

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สัมประสิทธิ์แอลฟา : การใช้อย่างเหมาะสม” ขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้พัฒนาและผู้ใช้เครื่องมือวัดทางจิตวิทยาเข้าใจและแปลความหมายของสัมประสิทธิ์แอลฟาได้อย่างถูกต้อง สามารถใช้โปรแกรมทางสถิติคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาและช่วยความเชื่อมั่นได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้กระบวนการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันส่งผลให้งานวิจัยมีคุณภาพและความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้นด้วย

หัวข้อการฝึกอบรม 

  • ทฤษฎีคะแนนจริงแบบดั้งเดิมและความเที่ยงจากความสอดคล้องภายใน
  • การคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟา
  • โมเดลการวัดทัดเทียมการตามเงื่อนไขจำเป็น (essential tau-equivalent model) และข้อตกลงเบื้องต้นอื่นๆ ของการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟา
  • การคำนวณช่วงความเชื่อมั่น (confident interval) ของสัมประสิทธิ์แอลฟา
  • การแปลความหมายที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องของสัมประสิทธิ์แอลฟา
  • การใช้โปรแกรม R ในการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟา

 

ลงทะเบียน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณกรรณิกา

โทร. 02-218-1305 หรือ email: Kannika.c@chula.ac.th