คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการเสวนาวิชาการ เรื่อง
ถอดบทเรียนทางจิตวิทยา
“เหตุกราดยิง : ที่มา ทางแก้ และป้องกัน”
ในวันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.00 – 16.00 น.
ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเสวนาจะครอบคลุมประเด็นต่างๆ จากเหตุการณ์การกราดยิงผ่านมุมมองทางจิตวิทยาด้านต่างๆ ได้แก่ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการปรึกษา และด้านอาชญวิทยา เพื่อสร้างการตระหนักและความเข้าใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงการถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อร่วมกันค้นหาแนวทางการแก้ปัญหา และการป้องกันเหตุการณ์เกิดซ้ำ โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและอาชญวิทยาเป็นผู้ร่วมการเสวนา ดังนี้
1. ดร.นัทธี จิตสว่าง – นักอาชญาวิทยา อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์
2. รศ. ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต – นักจิตวิทยาการปรับพฤติกรรม อดีตคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ
3. ผศ. ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์ – นักจิตวิทยาสังคม รองคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ
4. ผศ. ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ – นักจิตวิทยาการปรึกษา หัวหน้าศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
ดำเนินรายการ โดย ผศ. ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ – นักจิตวิทยาพัฒนาการ คณบดีคณะจิตวิทยา
ตัวอย่างประเด็นการเสวนา
“ผู้ปกครองมีบุตรหลานเล็ก หากต้องเจอเหตุการณ์ลักษณะแบบนี้ จะสามารถคุมให้เด็กไม่ให้ตื่นตระหนก หรือร้องได้มั้ย และมีวิธีการเอาตัวรอดอย่างไร”
“ที่ว่ากันว่า อาชญากรรมเป็นโรคระบาด สามารถทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้นั้น จริงหรือไม่ เพราะเหตุใด”
“การจัดการเมื่อเกิดเหตุ การระงับเหตุ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึง ทั้งต่อปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้องและสังคมโดยรวม”
“การนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน ในมิติของการรับมือและการป้องกันการเกิดเหตุ”
“นอกเหนือจากกลุ่มคนที่ต้องอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญ คนทั่วไปสามารถช่วยกันดูแลจิตใจตัวเองและคนรอบข้าง ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ หรือเกิดความเครียดจากการรับฟังข่าวสารอย่างไรบ้าง”
“ถ้าเราพบเห็นใครที่มีปัญหามากๆ และเห็นว่ามีแนวโน้มจะเกิด mental breakdown เราควรทำอย่างไร”
ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน !!! ฟรี !!!
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณกรรณิกา
โทร. 02-218-1305 หรือ email: Kannika.c@chula.ac.th