Compassion fatigue – ความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ

Posted by

Compassion fatigue

ความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ หมายถึง อาการความอ่อนล้า เหนื่อยล้า ทั้งทางกายและใจ เมื่อต้องดูแลช่วยเหลือและรับฟังเรื่องราวเจ็บปวด เป็นทุกข์ ที่เป็นบาดแผลทางจิตใจของผู้อื่น เนื่องจากเป็นคนที่มีความใส่ใจ ความร่วมรู้สึก อยากจะช่วยเหลืออย่างแท้จริง ซึ่งส่งผลให้สมรรถภาพในการทำงานลดลง รวมถึงความใส่ใจที่จะเข้าอกเข้าใจอยากช่วยเหลือก็ลดลงด้วย จนเกิดความชินชาต่อความเจ็บปวดของผู้คน

** สัญญาณเตือนถึงการมีความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ **

  1. ด้านจิตใจและจิตวิญญาณ เช่น การมีความอ่อนล้าทางอารมณ์ ถอยห่างจากความสัมพันธ์ มีความสามารถในการเข้าอกเข้าใจเห็นใจผู้อื่นลดน้อยลง อคติต่อโลกและสังคมมนุษย์ รู้สึกแย่ต่อการช่วยเหลือผู้อื่น ไม่รู้สึกพึงพอใจหรือรื่นเริง หวาดกลัวอย่างไม่สมเหตุสมผล วิตกกังวลสูง มีการตัดสินใจที่แย่ ไม่สามารถแยกเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวได้ ไม่สนใจทบทวนความคิดความรู้สึกของตน
  2. ด้านร่างกาย เช่น มีความเหนื่อยล้าหมดแรง ปวดศีรษะ ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้มีปัญหา อิดโรย ระบบการนอนมีปัญหา และอาจหมกมุ่นกับความเจ็บป่วยทางร่างกาย
  3. ด้านพฤติกรรม เช่น ดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้น มีปัญหาทางสัมพันธภาพกับผู้คน การตัดสินใจระหว่างให้บริการบกพร่อง รวมถึงมีการตอบสนองที่เฉยชา

 

** ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ **

ได้แก่ ปริมาณงานที่มากเกินไป ตนเองมีประวัติบาดแผลทางจิตใจ การเข้าถึงการนิเทศ (supervision) ที่น้อย สิ่งแวดล้อมในการทำงานไม่เอื้ออำนวย มีทัศนคติการมองโลกในเชิงลบ การไม่ใส่ใจดูแลตนเอง

นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับประสบการณ์การให้คำปรึกษา ถ้าเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่มีวัยวุฒิและประสบการณ์มาก จะรู้ถึงขอบเขตความรับผิดชอบในการทำหน้าที่ของตน รู้สึกพึงพอใจหรือประสบความสำเร็จในการได้พยายามช่วยเหลือได้มากกว่า และสามารถสร้างระยะห่างหรือสร้างสมดุลในการแยกตนเองออกจากการซึมซับความทุกข์ของผู้อื่นได้ดีกว่า อันเป็นปัจจัยที่ช่วยบรรเทาความเครียดจากการช่วยเหลือผู้อื่นให้ลดลงได้

**************************************

รายการอ้างอิง

“ความเครียด ความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ความพึงพอใจในการเห็นอกเห็นใจ และสุขภาวะของนักวิชาชีพผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิต” โดย นางสาวศิริลักษณ์ เตชะธนอิทธิกุล (2561) – http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61248

ภาพประกอบจาก https://thriveglobal.com

……………………………………………………………………

เรียบเรียงโดย คุณรวิตา ระย้านิล

นักจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

……………………………………………………………………..

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s